‘เท้าแบน’ ส่งผลต่อเจ้าตัวเล็กยังไง?

เพจเจ้าตัวเล็กมีสาระน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องของภาวะเท้าแบน มาฝากคุณพ่อคุณแม่ที่มีเจ้าตัวเล็กประสบปัญหานี้ค่ะ เท้าแบนมีข้อเสียยังไง จะแก้ไขยังไงได้บ้าง มาดูกันเลยนะคะ

เท้าแบน จัดเป็นลักษณะเท้าที่ไม่มีส่วนโค้งเว้าตรงกลางเท้า เมื่อยืนฝ่าเท้าจึงราบไปกับพื้น เกิดขึ้นได้ตั้งแต่กำเนิด จากกรรมพันธุ์ และจากปัจจัยที่ทำให้เท้าแบนในภายหลังก็ได้เช่นกัน

ภาวะเท้าแบนแต่กำเนิด แบ่งเป็น 2 ประเภท

1) เท้าแบนแบบนิ่ม จะพบได้ตอนเป็นเด็ก โดยฝ่าเท้าจะราบไปกับพื้น แต่เมื่อยกเท้าจะเห็นช่องโค้งฝ่าเท้า ไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด

2) เท้าแบนแบบแข็ง สังเกตได้จากอุ้งเท้าที่โค้งนูนออก เท้าผิดรูป แข็ง และเท้าจะมีลักษณะหมุนจากด้านนอกเข้าด้านในเสมอ เจ้าตัวเล็กจึงรู้สึกเจ็บปวด เมื่อต้องยืนหรือเดินมากเกินไป รวมทั้งมีปัญหาในการสวมรองเท้าด้วย

ควรพาเจ้าตัวเล็กไปหาคุณหมอ เมื่อมีอาการข้างเคียงจากเท้าแบน ดังต่อไปนี้

1) เจ็บฝ่าเท้า แม้จะสวมรองเท้าที่ใส่สบายและรองรับฝ่าเท้าแล้ว

2) เจ็บที่อุ้งเท้าและส้นเท้า

3) ฝ่าเท้าด้านในบวมขึ้น

4) ยืนไม่ค่อยได้ เคลื่อนไหวและทรงตัวลำบาก

5) เจ็บหลังและขา

6) ไม่สามารถสวมรองเท้าที่เคยสวมได้ และรองเท้าที่สวมชำรุดเร็ว

7) มีอาการเท้าแบนมากขึ้น

8) ฝ่าเท้าอ่อนแรง ชา มีอาการฝ่าเท้าแข็ง

 

การป้องกันไม่ให้ภาวะเท้าแบนแย่ลง

1) ให้เจ้าตัวเล็กสวมรองเท้าที่พอดีและรับกับลักษณะฝ่าเท้า
2) สวมอุปกรณ์เสริมที่เท้า เพื่อลดอาการปวด
3) เลี่ยงกิจกรรมหรือการเล่นกีฬา ที่ก่อให้เกิดแรงกระแทกตรงฝ่าเท้า เช่น วิ่ง กระโดด บาสเก็ตบอล ฟุตบอล เทนนิส
4) อย่าให้น้ำหนักของเจ้าตัวเล็กเกินเกณฑ์ เพราะจะทำให้เท้าต้องรับภาระมากขึ้น

 

Tag : #jaotourlek #child #baby #children #เจ้าตัวเล็ก #เลี้ยงเด็ก #parents #คุณพ่อคุณแม่ #พ่อ #แม่ #พ่อแม่ #ลูก #เด็ก #คนท้อง #ตั้งครรภ์ #คุณแม่ #มือใหม่ #แม่ #วันแม่