ภาวะลิ้นติดในเด็กเป็นยังไง ป้องกันได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

เจ้าตัวเล็กบ้านไหนมีภาวะลิ้นติด ขยับลิ้นยาก แลบลิ้นไม่พ้นริมฝีปากบ้างคะ วันนี้เพจเจ้าตัวเล็กจะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จักกับภาวะลิ้นติดในเด็กกันค่ะ มาติดตามไปพร้อมๆ กันเลยนะคะ

ภาวะลิ้นติด (Tongue-tie) เป็นภาวะที่ลิ้นเคลื่อนไหวได้อย่างจำกัด ถึงขั้นที่อาจทำให้เลียริมฝีปากหรือกระดกลิ้นไม่ได้ เกิดจากการมีเนื้อเยื่อที่หนาและสั้นเกินไปมายึดเกาะกันแน่นระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปาก ส่งผลกระทบทั้งกับปัญหาด้านการพูด การกินอาหาร การกลืน และการดูดนมแม่ โดยจะพบได้ในเด็กแรกเกิดและอาจหายได้เองเมื่อโตขึ้น รวมทั้งพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง ซึ่งยังไม่รู้ถึงสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจเกี่ยวข้องกับเรื่องของพันธุกรรม

 

อาการของภาวะลิ้นติด

1) แลบลิ้นไม่พ้นริมฝีปาก
2) ขยับลิ้นไปด้านข้างและมุมปากไม่ได้
3) ทำให้ปลายลิ้นแตะเพดานปากไม่ได้
4) เมื่อแลบลิ้น ปลายลิ้นอาจมีลักษณะแบน เป็นเหลี่ยม หรือมีรอยหยักเข้ามาเป็นรูปหัวใจ
5) อาจมีช่องว่างระหว่างฟันหน้าด้านล่างทั้ง 2 ซี่

 

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตภาวะลิ้นติดของเจ้าตัวเล็กวัยทารกได้ขณะให้นม ดังนี้

1) ไม่สามารถเปิดปากได้กว้างพอจะดูดนมจากเต้า และมักดูดงับหัวนมไม่ค่อยอยู่
2) มักเคี้ยวหัวนมมากกว่าดูดน้ำนม
3) ดูดนมเป็นเวลานาน หยุดดูดเป็นช่วงสั้น ๆ แล้วจึงดูดนมต่อ
4) มีเสียงดังคลิกเกิดขึ้นขณะดูดนม
5) หิวตลอดเวลา และเจ้าตัวเล็กมักมีน้ำหนักน้อยกว่าที่ควรเป็น
6) ระหว่างหรือหลังให้นมเจ้าตัวเล็ก คุณแม่อาจรู้สึกเจ็บหัวนม หัวนมแตก เกิดรอยกดหรือรอยริ้วบริเวณหัวนม และหัวนมแบน

 

การป้องกันภาวะลิ้นติด

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีประวัติคนในครอบครัวเกิดภาวะนี้มาก่อนควรปรึกษาคุณหมอ ก่อนวางแผนมีเจ้าตัวเล็กนะคะ และถ้าสงสัยว่าเจ้าตัวเล็กของเราอาจป่วยด้วยภาวะนี้ควรปรึกษาคุณหมอทันที เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนค่ะ

 

Tag : #jaotourlek #child #baby #children #เจ้าตัวเล็ก #เลี้ยงเด็ก #parents #คุณพ่อคุณแม่ #พ่อ #แม่ #พ่อแม่ #ลูก #เด็ก #คนท้อง #ตั้งครรภ์ #คุณแม่ #มือใหม่ #แม่ #วันแม่