5 สาเหตุทำเจ้าตัวเล็กเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

ส่วนใหญ่เพจเจ้าตัวเล็กจะพูดถึงเรื่องของเด็กๆ ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ วันนี้เราจะมาชวนคุณพ่อคุณแม่คุยกันถึงเด็กๆ ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์กันบ้าง เจ้าตัวเล็กบ้านไหนน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ห้ามพลาดเด็ดขาดเลยนะคะ

การเจริญเติบโตของเด็กแต่ละช่วงวัยนั้น จะวัดจากเกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยในเด็กทารกจะวัดโดยการใช้ความยาวของร่างกาย ซึ่งเด็กแรกคลอดที่อายุครรภ์ครบกำหนดจะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยประมาณ 3,000 กรัม หรืออยู่ในช่วงน้ำหนักตั้งแต่ 2,500-4,000 กรัม แต่หลังทารกเกิดได้ 5-7 วัน น้ำหนักตัวของเจ้าตัวเล็กจะลดลงเล็กน้อย ก่อนจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับน้ำหนักแรกเกิดตอนอายุ 10-14 วันขึ้นไป แต่ถ้าเจ้าตัวเล็กป่วยหรือคลอดก่อนกำหนด จะต้องใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์กว่าน้ำหนักจะกลับมาเทียบเท่าตอนแรกเกิดได้ ในช่วงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 3 ปี คุณพ่อคุณแม่จึงควรชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของเจ้าตัวเล็กเป็นประจำ คือ

 

1) อายุ 2 สัปดาห์-6 เดือน ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเดือนละ 1 ครั้ง

2) อายุ 6 เดือน-12 เดือน ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง 1 ครั้ง ทุก ๆ 2 เดือน

3) อายุ 12 เดือนขึ้นไป ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง 1 ครั้ง ทุก ๆ 3 เดือน

 

โดยเจ้าตัวเล็กที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ก็เนื่องมาจาก

1) เจ้าตัวเล็กประสบภาวะขาดสารอาหาร หรือภาวะพร่องวิตามินที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย

2) เจ้าตัวเล็กมีปัญหาในด้านการเจริญเติบโต

3) เจ้าตัวเล็กป่วยด้วยโรคโลหิตจาง

4) เจ้าตัวเล็กมีภูมิคุ้มกันลดลง

5) เจ้าตัวเล็กมีอาการเจ็บป่วย หรือมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก : pobpad.com

 

Tag : #jaotourlek #child #baby #children #เจ้าตัวเล็ก #เลี้ยงเด็ก #parents #คุณพ่อคุณแม่ #พ่อ #แม่ #พ่อแม่ #ลูก #เด็ก #คนท้อง #ตั้งครรภ์ #คุณแม่ #มือใหม่ #แม่ #วันแม่