มาตรวจหาโรคพันธุกรรมระหว่างตั้งครรภ์ด้วยวิธี NIPT กันเถอะ

คุณแม่ที่ติดตามบทความต่างๆ จากเว็บไซต์เจ้าตัวเล็ก คงคุ้นเคยกับประโยคที่กล่าวถึงการตรวจหาโรคทางพันธุกรรมของเจ้าตัวเล็กขณะตั้งครรภ์ วันนี้เราจะมาแนะนำ 1 ในวิธีการตรวจหาโรคพันธุกรรมระหว่างตั้งครรภ์กันค่ะ จะเป็นวิธีไหน มาติดตามพร้อมกันเลยนะคะ

NIPT (Noninvasive Prenatal Testing) เป็นวิธีตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ โดยตรวจตัวอย่างเลือดของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ นอกเหนือจากวิธีการตรวจปัสสาวะ การตรวจอัลตราซาวด์ และวิธีอื่นๆ ซึ่งคุณแม่แต่ละคนอาจได้รับการแนะนำวิธีการตรวจจากคุณแม่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับอายุ ระยะการตั้งครรภ์ ประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตและโรคประจำตัวค่ะ

 

สำหรับการตรวจ NIPT จะช่วยให้คุณหมอสามารถประเมินความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติต่างๆ ได้แก่

1) ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome)
2) กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edward’s Syndrome)
3) กลุ่มอาการพาทัวซินโดรม (Patau’s Syndrome)
4) ความผิดปกติอื่น ๆ ที่มีสาเหตุมาจากการขาดหรือเกิดของโครโมโซม X และ Y

 

ข้อเสียของวิธีการตรวจแบบ NIPT คือจะช่วยในการคาดเดาระดับความเสี่ยงเท่านั้นค่ะ ไม่สามารถยืนยันได้อย่างแน่ชัดว่าเจ้าตัวเล็กในท้องของเรามีภาวะความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือไม่ โดยวิธีนี้จะเหมาะกับ

1) คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการถ่ายทอดความผิดปกติหรือโรคทางพันธุกรรมไปสู่ทารก เช่น เคยให้กำเนิดทารกที่มีความผิดปกติทางโครโมโซม

2) คุณแม่ที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติอาการป่วยด้วยโรคทางพันธุกรรม

3) คุณแม่ที่ตั้งครรภ์และเป็นผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือคุณพ่อของเจ้าตัวเล็กเป็นผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม

4) คุณแม่ที่เคยตรวจครรภ์แล้วพบความผิดปกติบางอย่าง

5) คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ขณะอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป

ขอบคุณข้อมูลจาก : pobpad.com

 

Tag : #jaotourlek #child #baby #children #เจ้าตัวเล็ก #เลี้ยงเด็ก #parents #คุณพ่อคุณแม่ #พ่อ #แม่ #พ่อแม่ #ลูก #เด็ก #คนท้อง #ตั้งครรภ์ #คุณแม่ #มือใหม่ #แม่ #วันแม่