โรคระบาดต่างๆ ก่อให้เกิดขยะติดเชื้อจากของเสียที่ปนเปื้อนเลือดหรือสารคัดหลั่งต่าง ๆ อย่างน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะจากร่างกายของผู้ป่วย แล้วเราจะทำยังไงให้เจ้าตัวเล็กและสมาชิกทุกคนในบ้านปลอดภัย เมื่อมีขยะติดเชื้อภายในบ้าน วันนี้เพจเจ้าตัวเล็กมีคำตอบมาฝากค่ะ
หลายๆ ครอบครัวมีสมาชิกที่เป็นเด็กและผู้สูงอายุอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน ซึ่งถือเป็นครอบครัวใหญ่ที่ชวนให้รู้สึกอบอุ่น โดยทั้งเด็กและผู้สูงอายุล้วนมีสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอ มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เราจึงควรใส่ใจในการกำจัดขยะติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัย ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) เข็มฉีดยา อุปกรณ์ปฐมพยาบาล ถุงมือ กระดาษทิชชู่ เสื้อผ้า ภาชนะใส่อาหารแบบใช้แล้วทิ้ง หลอดดูด แปรงสีฟัน ที่โกนหนวด และข้าวของอื่นๆ ที่ผู้ป่วยใช้ ตามขั้นตอนต่อไปนี้ค่ะ
1) คัดแยกขยะติดเชื้อออกจากขยะทั่วไป โดยอาจใช้ถังขยะ 2 ใบ กำกับให้ชัดเจนว่าใบไหนเป็นขยะประเภทใด โดยระหว่างการแยกขยะควรสวมถุงมือ สวมหน้ากากอนามัยซ้อน 2 ชั้น รวมไปถึงล้างมือด้วยน้ำและสบู่ แล้วชำระล้างร่างกายหลังการแยกขยะด้วย
2) เลือกใช้ถุงขยะชนิดหนาสีแดง 2 ใบซ้อนกัน ถ้าไม่มีสามารถให้ใช้ถุงพลาสติกแทน โดยทำสัญลักษณ์หรือระบุบนถุงขยะอย่างชัดเจนว่าเป็นขยะติดเชื้อ
3) มัดปากถุงขยะชั้นในด้วยเชือกให้แน่น ฆ่าเชื้อบริเวณปากถุงด้วยแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นอย่างน้อย 70%
4) ซ้อนถุงขยะชั้นที่ 2 แล้วมัดปากถุงให้แน่น ทำความสะอาดปากถุงซ้ำอีกครั้งด้วยแอลกอฮอล์ จึงค่อยนำขยะไปทิ้งในจุดพักขยะติดเชื้อที่หน่วยงานในท้องที่จัดไว้ให้
- มาปกป้องเจ้าตัวเล็ก จาก COVID-19 กันเถอะ
- 8 เคล็ดลับดูแลเจ้าตัวเล็กให้ปลอดภัยจาก ‘สารตะกั่ว’
- How to ทำยังไงเมื่อฝุ่นเข้าตาเจ้าตัวเล็ก
Tag : #jaotourlek #child #baby #children #เจ้าตัวเล็ก #เลี้ยงเด็ก #parents #คุณพ่อคุณแม่ #พ่อ #แม่ #พ่อแม่ #ลูก #เด็ก #คนท้อง #ตั้งครรภ์ #คุณแม่ #มือใหม่ #แม่ #วันแม่