ทำความรู้จัก ‘ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ’ ในเด็กแรกเกิด

เพจเจ้าตัวเล็กมีสาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บในเด็ก มาฝากคุณพ่อคุณแม่เช่นเคยค่ะ สำหรับวันนี้จะเป็นเรื่องของภาวะหัวโต หรือภาวะโพรงสมองคั่งน้ำในเด็กแรกเกิด จะมีอาการยังไง อันตรายแค่ไหน รักษายังไง มาดูพร้อมกันเลยนะคะ

ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำในเด็กแรกเกิด หรือภาวะหัวโตในเด็กแรกเกิด มักมีสาเหตุมาจากความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง, การคลอดก่อนกำหนดช่วงก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์, ถุงน้ำในสมอง, การกลายพันธุ์ของโครโมโซม X, โรคทางพันธุกรรมบางชนิด (พบได้น้อย) รวมไปถึงการติดเชืัอของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ ทำให้เจ้าตัวเล็กมีน้ำในสมองมากเกินไป จนมีขนาดหัวโต และส่งผลให้สมองถูกทำลายด้วย

อาการของภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ

1) หัวโตผิดปกติ และขยายขนาดขึ้นอย่างรวดเร็ว
2) กระหม่อมโป่งและตึง
3) หนังศีรษะบางเป็นมันวาว มองเห็นเส้นเลือดชัดเจน
4) ตาสองข้างมองต่ำลง
5) อาจส่งผลให้เจ้าตัวเล็กอาเจียน เบื่ออาหาร ไม่ยอมดูดนม งอแง ร้องไห้บ่อย ง่วงซึม มีปัญหาพัฒนาการตามวัย ขาดการตอบสนองต่อการสัมผัส รวมทั้งขาดสมดุลด้านความตึงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

การรักษา

พาเจ้าตัวเล็กไปพบคุณหมอตามนัดหมายทุกครั้ง

 

Tag : #jaotourlek #child #baby #children #เจ้าตัวเล็ก #เลี้ยงเด็ก #parents #คุณพ่อคุณแม่ #พ่อ #แม่ #พ่อแม่ #ลูก #เด็ก #คนท้อง #ตั้งครรภ์ #คุณแม่ #มือใหม่ #แม่ #วันแม่